ty_tumbnail_column-headline-9.jpg

“หรือเราจะเป็น Text Neck Syndrome!!”
เสียงพูดประสานขึ้นมาเพราะความตกใจของ ชมพู่ จุ๋มจิ๋ม และ แนน 3 สาวทีมออนไลน์สุดแสบแห่งเอเจนซี่โฆษณาชื่อดังกลางสาทร ทำให้คนทั้งฟลอร์ต้องหยุดมอง
ทั้ง 3 เบาเสียงลง แต่มือยังไม่ปล่อยจากหลังคอที่มีอาการปวดเรื้อรังมานาน
ชมพู่จุ่มหน้าเข้ามือถือ อ่านข้อความใน Google Search ให้เพื่อน ๆ ฟังอย่างช้า ๆ อีกครั้ง เพื่อช่วยกันวิเคราะห์อาการปวดที่เป็นเหมือนกันทั้ง 3 คน
“Text Neck Syndrome คือ กลุ่มอาการปวดกล้ามเนื้อที่บริเวณคอ บ่า และ ไหล่ และ อาจจะรวมไปถึงความเสื่อมกระดูก ข้อต่อกระดูก หรือ หมอนรองกระดูกบริเวณคอได้ โดยปัญหาเหล่านี้ มักจะเกิดจากการบาดเจ็บซ้ำซากบริเวณคอ ซึ่งเกิดจากการใช้งานโทรศัพท์มือถือ หรือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เป็นเวลานานเกินไป”
“ชัดเลยมึง! ใช่แน่ ๆ” แนนกระซิบ พร้อมนวดคอบ่าไหล่คลายกล้ามเนื้อ
จากรายงานของสถาบันเทคโนโลยีการผ่าตัดนานาชาติ (Surgical Technology International) ระบุว่า กระดูกสันหลังของผู้ใช้สมาร์ตโฟน ต้องรับแรงกดจากการก้มหน้าเล่นสมาร์ตโฟนมากถึง 1,000 – 1,400 ชั่วโมงต่อปี
“การก้มหน้าลงทุก 15 องศา จะทำให้คอ และ บ่า ต้องรับน้ำหนักมากสูงสุดถึง 27 กิโลกรัม
- ก้มหน้า 15 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 5-7 กิโลกรัม
- ก้มหน้า 30 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 18 กิโลกรัม
- ก้มหน้า 45 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 22 กิโลกรัม
- ก้มหน้า 60 องศา คอและบ่าต้องรับน้ำหนัก 27 กิโลกรัม
และเพราะน้ำหนักที่เกิดขึ้นจากการกดทับนี้เอง ที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระดูกสันหลังส่วนคอ ให้มีการปูด แตก และการเคลื่อนของหมอนรองกระดูกจนไปกดทับเส้นประสาทส่วนคอ ยิ่งก้มมากเท่าไร คอ และ บ่ายิ่งต้องรับน้ำหนักมากขึ้น!”
อ่านถึงตรงนี้ ทั้ง 3 เงยหน้ามองกัน ด้วยความเครียด
“แล้ววิธีรักษา หรือป้องกันล่ะ?”
จุ๋มจิ๋มตั้งสติได้ก่อนใคร แต่มือไม่วายทุบบ่าตุบ ๆ
ty_content_column-9.jpg

วิธีการป้องกัน Text Neck Syndrome คือ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้งานมือถือ โดยปรับองศาของคอให้อยู่ในแนวตรงมากที่สุด
- จำกัดเวลาในการใช้มือถือ และ ลดเวลาในการใช้งานอย่างเหมาะสม
- ควรให้มือถืออยู่ในแนวตรงระดับสายตา ไม่ก้มหลัง และไม่ห่อไหล่ขณะใช้งาน
- พักสายตา เปลี่ยนอิริยาบถเป็นระยะทุก 30 นาที ไม่อยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน ๆ
- ยืดกล้ามเนื้อ ออกกำลังกายบริหารกล้ามเนื้อบริเวณต้นคอ
- ทานยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาปวด
“ โอเค! งั้นเราเริ่มที่ยาแก้ปวดก่อนเลย จากนั้นเรื่องปรับพฤติกรรมต้องค่อย ๆ ทำไป เรา 3 คน ต้องช่วยกัน เห็นใครก้ม พวกแกทักเลยนะ”
จุ๋มจิ๋มพูดพลางหยิบไทลินอล 500 เข้าปากแล้วกลืนน้ำตาม เพื่อน ๆ ทำตาม แล้วพากันยืดกล้ามเนื้อคอ ก่อนแยกย้ายกันไปทำงาน ...แบบไม่ก้มมากไป
ใครมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ เพราะมีพฤติกรรมแบบสาวออฟฟิศทีมนี้ คือ เช้าจนสายก้มหน้า text หาลูกค้า และ เจ้านาย ช่วงบ่าย ๆ เข้าเว็บข่าวตามเทรนด์ใหม่ ไม่พลาดทุกไวรัล! กลับบ้านยังต้องนั่งไถฟีดเฟสบุ๊คจนดึกตามข่าวซุบซิบดารา เพื่อมาไลน์เม้าท์มอยกันจนตี 2 อี๊กละก็ เรียกว่า ต้นคอไม่ได้พักเลยทีเดียว ทำแบบนี้ระวังเป็น Text Neck Syndrome รุนแรง และเรื้อรัง จนต้องผ่าตัดนะครับ รีบทานยาพาราเซตามอล ขนาด 500 มิลลิกรัมบรรเทาปวด แล้วปรับพฤติกรรมด่วน ก่อนจะสายเกินไป!
ตรวจสอบเนื้อหาโดย
พญ.ปรารถนา ปันทะ
นายแพทย์ชำนาญการ
ข้อมูลอ้างอิง
https://www.sikarin.com/health/text-neck-syndrome-อาการปวดคอของคนติดม